ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”บ้านแม่พร้าว

ที่ตั้ง ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”บ้านแม่พร้าว หมู่ 9   ตำบลสะเอียบ อำเภอสอง  จังหวัดแพร่  ทิศเหนือ เขตติดต่อบ้านบ่อต้นสัก อ.เชียงม่วน ทิศใต้  ,ทิศตะวันออก ,ทิศตะวันตก เขตติดต่อ อุทยานแห่งชาติแม่ยม

ระยะทางจากหมู่บ้าน ถึงอำเภอสอง  49 ก.ม. เป็นถนนดิน12 กม.(จากหมู่บ้านถึงบ้านดอนชัย)
ประวัติหมู่บ้าน บ้านแม่พร้าว เดิมเรียกชื่อว่า บ้านอีก้อสะเอียบ   เป็นชาวเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) ได้อพยพมาจากหมู่บ้านหินแตก  อ.แม่จัน  จ.เชียงราย  เมือ่ปี พ.ศ.2515  อพยพมาอยู่ที่แห่งแรกที่ห้วย แม่ลำ ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม ประมาณ  10 ครอบครัว นำโดย นายซันโย  มะเยอะ  อยู่ที่แม่ลำได้ประมาณ  1 ปี  ก็อพยพย้ายมาอยู่ใกล้ลำห้วยแม่พร้าว จนถึงปัจจุบัน ในพื้นที่  480 ไร่ (พื้นที่อยู่อาศัย 50 ไร่)เป็นหมู่บ้านสาขา ของบ้านดอนชัยสักทอง หมู่ 9  ตำบลสะเอียบ โดยมีนาย อาบือ  อะเคอะ เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ( ศศช.)  ได้เริ่มเข้ามาดำเนินการจัดการศึกษาให้แก่ผู้ใหญ่ในหมู่บ้าน ตั้งแต่ พ.ศ.2529 โดยศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดแพร่  ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดแพร่ จนถึงปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา  “แม่ฟ้าหลวง” บ้านแม่พร้าว มีนายวินัย  จินะโสต เป็นครูอาสาสมัครฯ ประจำศูนย์การเรียนฯ
ประเพณีของหมู่บ้าน ปีใหม่ลูกข่าง เดือนมกราคม ,ปีใหม่ชนไข่ เดือน เมษายน ,ปีใหม่โล้ชิงช้า เดือนกันยายน
ข้อมูลหมู่บ้าน  มี 66 หลังคาเรือน จำนวนประชากร  260 คน ( ชาย  128    คน, หญิง 132  คน )
นับถือผีบรรพบุรุษ ,ศาสนาพุทธ และคริสต์
สภาพหมู่บ้านและเศรษฐกิจ เป็นพื้นที่ราบเชิงเขาในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ยม  อาชีพ   เกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน รับจ้าง และ ค้าขาย  ผลผลิตการเกษตร ได้แก่ ข้าวโพด ข้าว ใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์(โซล่าเซลล์)  และใช้น้ำประปา จากบ่อบาดาล ทุกหลังคา มีร้านขายของชำ  4  ร้าน
หน่วยงาน /เครือข่ายในพื้นที่
โรงเรียนบ้านแม่พร้าว สังกัด สพท.เขต 1 แพร่ 
หน่วยพัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา   
หน่วยพิทักษ์อุทยานแม่พร้าว
โบสถ์สอนศาสนาคริสต์  2  แห่ง
สถานบริการสุขภาพชุมชน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”บ้านแม่พร้าว  ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ได้แก่ การจัดการศึกษาหลักสูตรการศึกษาบนพื้นที่สูง ( ศศช.) ,หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สายสามัญ)  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต  การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเหมาะสม โดยให้ผู้เรียนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการรู้หนังสือ จำนวนผู้เรียน 35  คน (ชาย  20 คน  ,  หญิง 15 คน)
นักศึกษาขั้นพื้นฐาน(สายสามัญ)  1/2553
- ระดับประถมศึกษา 7 คน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 3 คน
- ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5
รวม 15 คน   
การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ 1/2553 
- วิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นการทำสารชีวภาพ
- วิชาชีพการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์                                                  
กิจกรรมพัฒนาสังคมและชุมชน ได้แก่
- โครงการอาข่ารวมใจเทิดไท้องค์ราชัน
- โครงการอาข่ารวมใจปลูกต้นไม้คืนสู่แผ่นดิน
กิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต
-โครงการอนุรักษ์ประเพณีวิถีชนเผ่า
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. นายอาแซะ  พี้เมีย  เก่งทางด้านการจักสาน
2. นายอาฉ่า  อามอ  เก่งทางด้านเป่าแคน
3. นายอาหมื่อ มาเยอะ เก่งทางด้านยาสมุนไพร
4. นางบูมะ  มะเยอะ  เก่งด้านเย็บปักลายผ้าประจำเผ่าอาข่า         
คณะกรรมการศูนย์การเรียน
1. นายอาบือ  อะเคอะ     ประธานฯ
2. นายนัทธพงศ์ มะเยอะ  รองประธานฯ
3. นายอมร   อะมอ        รองประธานฯ
4. นายอาโก๊ะ  พี้เมีย       กรรมการ
5. นายวีระพล พีเมีย       กรรมการ
5. นายลีแล   อามอ        กรรมการ
6. นายวินัย  จินะโสต      เลขานุการ/ที่ปรึกษา           
จักเป็นบัวพ้นน้ำ    ฤา ต่ำใต้
ใช่เลือกเกิดเองได้    ทุกแห่งหน
แต่ชาติหนึ่งพึ่งตนได้ ถ้าช่วยตน
กศน.ให้โอกาสคน ทุกคนเท่าเทียมกัน “เป็นเพียงตะเกียงรั้ว มิเคยกลัวลมแรงกล้า ปฏิธาณมั่น...ศรัทธา  เพื่อประชาให้ส่องทาง..”
โดย นายวินัย  จินะโสต ครูอาสาสมัคร กศน . ศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสอง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่

 

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 29 •มิถุนายน• 2012 เวลา 21:40 น.• )