โทร 081 - 5307861 E - mail •อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน•

ภูเดช แสนสา ผู้เขียนประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ ประวัติ 1. ข้อมูลทั่วไป นายภูเดช แสนสา บ้านเลขที่ 44/4 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ 54150

2. การศึกษา

ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2552

ศิลปะบัณฑิต (ศิลปะไทย, เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2549

ศิลปศาสตรบัณฑิต (ไทยคดีศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2555

ประกาศนียบัตร (ภาษาและวรรณกรรมล้านนา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ.2546

3. การทำงาน

อาจารย์พิเศษหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา (ประวัติศาตร์และวัฒนธรรม สาขาสหวิทยาการสังคม

ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รับผิดชอบสอนรายวิชา

(1) วิชาประวัติศาสตร์ล้านนา (ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, HIST 3103)

(2) วิชาวิถีโลก (วิชาโลกาภิวัตน์, GSOC 0102)

(3) วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะภาคเหนือ (HIST 3106)

(4) วิชาภาษาล้านนา (CUL 2402)

(5) วิชาประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย 1 (CUL 1201)

(6) วิชาคติชนกับภูมิปัญญาท้องถิ่น (CUL 3401)

(7) วิชาศิลปกรรมพื้นบ้าน (ART 1105)

(8) วิชาการวาดเส้นทัศนศิลป์ (ART 1207)

4. ผลงานทางวิชาการ

4.1 หนังสือและวารสาร เขียนหนังสือวิชาการจำนวน 6 เล่ม เป็นบรรณาธิการหนังสือและวารสารจำนวน 3 เล่ม รวมทั้งหมดจำนวน 9 เล่ม ได้แก่

(1) หนังสือประวัติศาสตร์เมืองลอง หัวเมืองบริวารในล้านนาประเทศ พ.ศ.2554

(2) หนังสือประวัติวัดพระธาตุไฮสร้อย วัดหลวงกลางเวียง เมืองลอง พ.ศ.2554

(3) หนังสือร้อยเรียงร้อยเรื่องเมืองลอง พ.ศ.2555

(4) หนังสือคุ้มหลวง หอคำ เวียงแก้ว สัญญะขัติยะล้านนา พ.ศ.2556

(5) หนังสือโลกหน้าล้านนา : พัฒนาการการสร้างปราสาทศพต่างสัตว์หิมพานต์และการก่อกู่ พ.ศ.2556

(6) คร่าว กฎหมาย จารีต ตำนาน : หลักฐานทางประวัติศาสตร์ล้านนา พ.ศ.2556

(7) หนังสือซาวห้าปีขวบเข้า หมู่เฮาชาวพื้นบ้านล้านนา (บรรณาธิการ) พ.ศ.2554

(8) หนังสือเมืองลอง (บรรณาธิการ) พ.ศ.2555

(9) วารสารพื้นบ้านล้านนา (บรรณาธิการ) ปีที่ 13 ประจำปี 2555

 

4.2 บทความวิชาการ บทความวิชาการด้านล้านนาคดีตีพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ จำนวน 29 บทความ อาทิเช่น

(1) บทความเรื่อง “คำสบถและคำบริภาษในภาษาล้านนาที่มาจากเครื่องใช้ในพิธีศพ” วารสารภาษาและวรรณกรรมไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ฉบับปีที่ 2 มกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2555

(2) บทความเรื่อง “วัฒนธรรมการกินข้าวขันโตกล้านนามาสู่ขันโตกดินเนอร์” ตีพิมพ์ในวารสารกระทรวงวัฒนธรรม ฉบับปีพ.ศ.2555

(3) บทความเรื่อง ““เมืองยอง” ในเมืองนครลำพูน” พิมพ์ในหนังสือข่วงผญา ของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หนังสือรวมบทความวิชาการด้านล้านนาคดีฉบับที่ 7 ประจำปีพ.ศ.2555

(4) บทความเรื่อง “พญาขัณฑสีมาโลหะกิจ เจ้าเมืองลองคนสุดท้าย (พ.ศ.๒๔๓๕ – ๒๔๔๕) ผู้อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองระหว่างล้านนากับสยาม” ในวารสารเวียงเจ็ดลิน ศูนย์วัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ปีที่ 1 ฉบับ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) พ.ศ.2554

(5) บทความเรื่อง “ค้นพบพระเจ้าไม้มีจารึกเก่าแก่ที่สุดของล้านนาในขณะนี้ อายุ ๓๐๐ กว่าปีที่วัดคัวะ เมืองน่าน” ในจดหมายข่าวมูลนิธิเล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 89 (มีนาคม – เมษายน) พ.ศ.2554

(6) บทความเรื่อง “ตำนานเชื้อเครือเจ้าฟ้าเมืองหมอกใหม่ หลักฐานใหม่ทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์รัฐฉาน – ล้านนา” (วิเคราะห์และปริวรรต) ในวารสารล้อล้านนา จังหวัดเชียงราย ปีที่ 2 ฉบับที่ 15 (มิถุนายน) พ.ศ.2554

(7) บทความเรื่อง “อิทธิพลพม่าสู่ล้านนา ในพิธีส่งสการแบบปราสาทศพต่างบนสัตว์ หิมพานต์” ในวารสารเมืองโบราณ ปีที่ 37 ฉบับที่ 2 (มีนาคม – มิถุนายน) พ.ศ.2554

(8) บทความเรื่อง “คติแนวคิดและพัฒนาการของการก่อ “กู่” อัฐิในล้านนา ธรรมเนียมจารีตจาก “ราช” สู่ “ราษฎร์” ” ในวารสารร่มพยอม สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน) พ.ศ.2554

4.3 งานแปล(ปริวรรต)เอกสารโบราณ พิมพ์คัดลอกและปริวรรตคัมภีร์ใบลานและพับสาจำนวน 97 เรื่อง 184 ผูก/ฉบับ อาทิเช่น

(1) ราชปาเวณีจารีตเมือง, พื้นเมืองล้านนา ฉบับวัดศรีชุม อ.เมือง จังหวัดแพร่ พ.ศ.2554

(2) อาณาจักรหลักคำ พ.ศ.2554

(3) คร่าวธรรม พ.ศ.2555

(4) ตำนานวัดหลวงเมืองมาน พ.ศ.2555

(5) บันทึกจารึกครูบาอิ่นคำ คัมภีโร วัดสะปุ๋งหลวง ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน พ.ศ.2555

(6) โคลงประวัติครูบาคำอ้าย อภิชโย วัดพระหลวง ต.ดอนมูล อ.สูงเม่น จ.แพร่ พ.ศ.2555

(7) ปักกะตืนเชียงแสน ละคอร วัดศรีก้ำ อ.เมือง จ.ลำปาง พ.ศ.2555

(8) พื้นเนื่องนาวเจ้านายมูลกระกูลเมืองน่าน วัดมงคล อ.เมือง จ.น่าน พ.ศ.2555

(9) ทักขิณะศักดิ์ศรีคำสบถสาบาน วัดหัวฝาย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย พ.ศ.2555

(10) โอวาทานุสาสินีพระคณะสังฆะเมืองเชียงใหม่ สมัยเจ้าพญาหลวงจ่าบ้าน พ.ศ.2555

 

4.4 นักวิจัยร่วมและผู้ช่วยนักวิจัย นักวิจัยร่วม 4 โครงการ และผู้ช่วยนักวิจัย 7 โครงการ รวม 11 โครงการ ได้แก่

(1) นักวิจัยร่วมโครงการ “การมีส่วนร่วมและจัดระเบียบชุมชนที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายมังรายศาสตร์ฉบับวัดกาสา : หลักการและแนวคิดในการประยุกต์ใช้ในบริบทปัจจุบัน” ของอาจารย์สมชาย ธรรมสุทธิวัฒน์ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เดือนตุลาคม พ.ศ.2554 - เดือนกันยายน พ.ศ.2555

(2) นักวิจัยร่วมด้านประวัติศาสตร์ในโครงการ “วิจัยและพัฒนาเครือข่ายในท้องถิ่นโดยใช้ทุนเครือข่ายในพื้นที่เพื่อหนุนเสริมการเรียนรู้รายวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 สถานศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่” ของรองศาสตราจารย์ สมโชติ อ๋องสกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เดือนมีนาคม พ.ศ.2553 – เดือนกันยายน พ.ศ.2554

(3) นักวิจัยร่วมด้านประวัติศาสตร์ในโครงการ “กระบวนเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาความทรงจำร่วมในมิติประวัติศาสตร์วัฒนธรรมชุมชนเวียงห้าวและเมืองพาน อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย” โดยการรวมกลุ่มนักวิจัยหลากหลายสาขาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ทุนสนับสนุนจากสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ เดือนมีนาคม พ.ศ.2553 - กันยายน พ.ศ.2554

(4) รองประธานโครงการสำรวจจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานวัดผาแดงหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง งบประมาณประจำปีคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2547

(5) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ “อนุภาคลุ่มน้ำโขงกับสิ่งแวดล้อม” ด้วยความร่วมมือของอเมริกา ออสเตเรีย ญี่ปุ่น จีน ใต้หวัน ไทย พม่า ลาว เวียดนาม และเขมร ของรองศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ.2553

(6) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ “โครงการหลวง : การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบนพื้นที่สูง และโครงการชาติพันธุ์ลุ่มน้ำโขงสาละวิน : ชนชาติไทย” ของรองศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยงบประมาณจากคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2553

(7) ผู้ช่วยนักวิจัย “พุทธศาสนานิกายป่าแดงและนิกายยางกวง(สวนดอก)ในเชียงตุง” และ “ชุมชนไทใหญ่ในเชียงตุง” ของรองศาสตราจารย์ อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ.2553

(8) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ “ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวคิดการออกแบบแปลนก่อสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดปันเส่าเฉลิมพระเกิยรติฯ” ของรองศาสตราจารย์สมโชติ อ๋องสกุล โดยความร่วมมือของคณะวิศกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2552 – 2553

(9) ผู้ช่วยนักวิจัยโครงการ “การศึกษาผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม(EIA and SIA) ตามโครงการพัฒนาเหมืองเวียงแหง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่” ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล คณะวิจิตรศิลป์ โดยสำนักบริการวิศวกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2547

(10) ผู้ช่วยนักวิจัย “ข่วงเมืองและวัดหัวข่วงกับแบบแผนของเมืองในดินแดนล้านนา” ของศาสตราจารย์เกียรติคุณ สุรพล ดำริห์กุล งบประมาณแผ่นดินหมวดเงินอุดหนุนการวิจัยของคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ.2547

(11) ผู้ควบคุมการขุดค้นทางโบราณคดี “แนวกำแพงโบราณ แหล่งโบราณคดีกลางเวียงเชียงใหม่”(บริเวณก่อสร้างหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่) โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณสุรพล ดำริห์กุล คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการการขุดค้น สนับสนุนงบประมาณโดยเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ.2547

 

4.5 สำรวจจารึกท้ายคัมภีร์ใบลาน สำรวจจารึกท้ายคัมภีร์ใบลานในภาคเหนือจำนวน 7 วัด ได้แก่

(1) วัดสะปุ๋งหลวง ตำบลม่วงน้อย อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน พ.ศ.2554 - 2555

(2) วัดเชียงราย ตำบลสวนดอก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พ.ศ.2553

(3) วัดแม่ลานเหนือ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.2550

(4) วัดพระธาตุไฮสร้อย ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.2549

(5) วัดนาตุ้ม ตำบลบ่อเหล็กลอง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.2549

(6) วัดผาฮาว ตำทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พ.ศ.2548

(7) วัดผาแดงหลวง ตำบลผาแดงหลวง อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พ.ศ.2547

 

4.6 สำรวจจารึกบนฐานพระพุทธรูปไม้ สำรวจจารึกฐานพระพุทธรูปไม้ในภาคเหนือจำนวน 11 วัด ได้แก่

(1) วัดพระหลวง ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ พ.ศ.2554

(2) วัดศรีโคมคำ(วัดพระเจ้าตนหลวง) ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา พ.ศ.2554

(3) วัดฝั่งตื้น(วัดนันทาราม) ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พ.ศ.2554

(4) วัดดอยงาม ตำบลเวียงห้าว อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พ.ศ.2554

(5) วัดคัวะ(วัดพุ่มมาลา) ตำบลศรีภูมิ อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน พ.ศ.2554

(6) วัดพญาวัด ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พ.ศ.2554

(7) วัดน้ำล้อม ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน พ.ศ.2554

(8) วัดบ้านหลุก ตำบลเหมืองง่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พ.ศ.2553

(9) วัดพระหลวง ตำบลพระหลวง อำสูงเม่น จังหวัดแพร่ พ.ศ.2553

(10) วัดปงสนุกเหนือ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พ.ศ.2552

(11) วัดพระธาตุศรีดอนคำ ตำบลห้วยอ้อ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ พ.ศ.2554 และพ.ศ.2550

 

4.7 วิทยากร วิทยากรบรรยายและฝึกอบรมทางด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมล้านนา จำนวน 60 ครั้ง อาทิเช่น

(1) วิทยากรร่วมงานประชุมเสวนา “พิพิธภัณฑ์กับการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน” จัดโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน) ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ภาคเหนือและสภาวัฒนธรรมอำเภอลอง จังหวัดแพร่ ณ โรงเรียนภัทธกมลพิทยา อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๖

(2) วิทยากรภาคสนามเดินนำชมศึกษาและวงสนทนา “เดินดูเรียนรู้ประวัติศาสตร์เวียงแก้ว เพื่อก้าวสู่อนาคต” ให้กับนักเรียน นักศึกษา ประชาชนรายรอบพื้นที่เวียงแก้วและผู้สนใจ จัดโดยสภาพลเมือง ณ ทัณฑสถานหญิง(เดิม)และหอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2556

(3) วิทยากรบรรยายเรื่อง “ประวัติศาสตร์ล้านนา” ให้กลุ่มคณาจารย์วิทยาลัยประชาชนและผู้นำท้องถิ่น จังหวัดปัตตานี และนักศึกษากลุ่มวันใหม่ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยพายัพ ในโครงการ Walk Lally แอ่วกลางเวียง : เล่าเรื่องล้านนาสู่ปาตานี ณ หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2556

(4) วิทยากรบรรยายในการศึกษาดูงานของคณะอาจารย์และเจ้าหน้าที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ณ ห้องประชุมคณะวิจิตรศิลป์ และชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

(5) วิทยากรบรรยายประชุมทางวิชาการเรื่อง “การใช้เอกสารโบราณ ในงานประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม” จัดโดยสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ณ อาคาร 27 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2555

(6) วิทยากรบรรยายด้านประวัติศาสตร์ ประเพณี และศิลปวัฒนธรรมให้คาราวานรถยนต์จำนวน 30 คันในโครงการ “ท่องเที่ยวมหัศจรรย์ผืนป่าล้านนาตะวันออก”(กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ – แพร่ – กรุงเทพฯ) จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานแพร่ ร่วมกับบริษัท ออโต้ บิสซิเนส เวิร์ค(ผู้ผลิตนิตยสารออโต้บิลด์ไทยแลนด์และผลิตรายการโทรทัศน์ TNN (True Vision)) ณ วัดพระธาตุศรีดอนคำ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ.2554

(7) วิทยากรบรรยาย “การสืบค้นประวัติศาสตร์ชุมชนของแต่ละสถานศึกษาสังกัด สพป.ชม 1” ให้ครูผู้สอนวิชาสังคมจาก 94 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมโรงแรมฮอลิเดย์การ์เดน จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2554

(8) วิทยากรร่วมเสวนาเรื่อง “เขาว่าเงี้ยวเป็นกบฏ?” ในงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นครั้งที่ 2 (สยามใหม่ จากมุมมองท้องถิ่น) ณ หอประชุมใหญ่ ชั้น 4 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2553

(9) วิทยากรบรรยายสาธารณะประจำปี 2553 เรื่อง ““เมืองลอง” ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของบ้านเมืองขนาดเล็กในรัฐล้านนา” จัดโดยมูลนิธิเล็ก – ประไพ วิริยะพันธุ์(เมืองโบราณ) ห้องประชุมอาคารพัฒนาธุรกิจโบรกเกอร์ กรุงเทพฯ วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ.2553

 

5. รางวัลที่ได้รับ

รางวัล “วิทยานิพนธ์ดีเด่น” คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ.๒๕๕๒ วิทยานิพนธ์เรื่อง “เมืองลอง : ความผันแปรของเมืองขนาดเล็กในล้านนา จากรัฐจารีตถึงปัจจุบัน, Mueang Long : A Study of Changes in a Lanna Township, from the Pre-Modern to the Modern Era.

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•ศุกร์•ที่ 20 •มิถุนายน• 2014 เวลา 13:47 น.• )