วัดแดนชุมพล สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในสมัยนั้นยังเป็นสำนักสงฆ์ และยังใช้ชื่อเป็น วัดสาละวัน และได้มีสามเณรรูปแรกของบ้านแดนชุมพล (จำฮั่ง) คือสามเณร เขียน ปลงใจ ในพ.ศ. ๒๔๙๘ คณะศรัทธาได้สร้างกุฏิไม้ตอนนั้นยังไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ต่อมาได้ไปนิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษาอยู่ ที่วัดแดนชุมพล (สาละวัน) ต่อมาได้สร้างสาลาการเปรียญหนึ่งหลังในปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ต่อมาสร้างพระอุโบสถในปีพ.ศ. ๒๕๓๐ และได้ผูกพัธสีมาในปี พ.ศ.๒๕๔๒ และสร้างกุฏิปูนในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ หลักฐานทางวัตถุ พระอุโบสถวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓, หอระฆังวัดแดนชุมพลสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ลำดับเจ้าอาวาสรูปที่ ๑ - ปัจจุบัน ดังนี้

๑. พระเจริญ บุญจินะ พ.ศ.๒๔๙๙- ๒๕๐๐ ( กลับสำนักเดิม)

๒. พระจันทร์ จนฺทสโร พ.ศ. ๒๕๐๐- ๒๕๐๑

๓. พระประมวล ( ตุ๊ลุงมวล) พ.ศ. ๒๕๐๑-๒๕๐๒

๔. พระอินปอน อินทวณฺโณ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๓

๕. พระอธิการศิลป์ จิตสํวโร พ.ศ.๒๕๐๓- ๒๕๒๘( มรณภาพ )

๖. พระจันทร์ สมศรี พ.ศ. ๒๕๒๘-๒๕๒๙

๗. พระแสวง ปุณณสโร พ.ศ. ๒๕๒๙-๒๕๓๑

๘. พระครูวัลลพ ปุณฺณวณฺโณ พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๓

๙. พระเจริญ สืบจากถิ่น พ.ศ.๒๕๓๓

๑๐. พระอธิการสมศักดิ์ ปญฺญาธีโร (ปัจจุบันเป็นพระครูประจักษ์-สุนทรกิจ เจ้าคณะตำบลหัวเมือง) พ.ศ. ๒๕๓๓- ปัจจุบัน

ประวัติบ้านแดนชุมพล หมู่ที่๑,๔ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๐ เดิมชื่อว่าบ้านจำฮ่าง”คำว่าจำหมายถึงน้ำซับที่ไหลออกมาจากโคนต้นไม้ใหญ่ชื่อต้นฮ่าง”ชาวบ้านเลยเรียกชื่อตามว่า”บ้านจำฮ่าง”ต่อมาก็มีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นหลายครอบครัวซึ่งมากันหลายหมู่บ้านและต่างอำเภออยู่รวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นหลายร้อยครอบครัวซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านขณะนั้นคือผู้ใหญ่ ตั๋น ดวงปิ่น จึงขอเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า”บ้านแดนชุมพล” มีความหมายว่าเป็นแดนแห่งชุมชน ตำบลแดนชุมพล ตั้งเป็นตำบลเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๑เดิมขึ้นอยู่กับตำบลหัวเมือง กำนันคนแรกคือ กำนันหลง ถิ่นหลวง ปัจจุบันตำบลแดนชุมพลมีส่วนงานราชการ เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแดนชุมพล, องค์การบริหารส่วนตำบลแดนชุมพล

สภาพทั่วไปของตำบล ตำบลแดนชุมพล อยู่ห่างจากตัวอำเภอสอง ๑๒.๕ กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดระยะทาง ๓๕ กิโลเมตร การคมนาคมใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๑ ตำบลแดนชุมพล มีพื้นที่ทั้งหมด ๗,๕๐๐ ไร่ ๑๒ ตารางกิโลเมตร เนื้อที่การเกษตรจำนวน ๔,๕๓๘ ไร่ พื้นที่ป่า ๓๐๐ ไร่

อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลทุ่งน้าว อำเภอสอง, ทิศใต้ ติดกับ ตำบลหัวเมือง อำเภอสอง, ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง, ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง

ข้อมูลอาชีพของตำบล อาชีพหลัก ทำนา, ทำสวน, ทำไร่ อาชีพเสริม ผลิตภัณฑ์งานปั้นจากขี้เลื่อย, การเย็บจักรอุตสาหกรรม ประวัติโรงเรียนบ้านแดนชุมพล ( ประชานุกุล )

โรงเรียนบ้านแดนชุมพล (ประชานุกูล) สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อ วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๖โดยความร่วมมือจากราษฎรบ้านแดนชุมพล หมู่ที่ ๑ และ ๔ ตำบลแดนชุมพล และราษฎรหมู่ที่ ๔ บ้านเด่นนางฟ้อน ตำบลทุ่งน้าว ได้ร่วมกันจับจองที่ดินผื่นปัจจุบัน รวมเนื้อที่๑๗ ไร่ ๒ งาน ๘ ตารางวา และได้ช่วยกันบริจาคปัจจัยในการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ ป.๑ค ขนาด กว้าง ๖ เมตรยาว ๓๒ เมตร ๔ ห้องเรียน พื้นกระดาน ฝาไม้ขัดแตะ หลังคามุมด้วยหญ้าคา เปิดสอนตั้งแต่ ป.๑ – ๔ มีครู ๓ คน นักเรียน ๑๑๖ คน มีนายมิ่ง ไชยวรรณเป็นครูใหญ่ คนแรก ในปี ๒๕๐๒ ได้รับงบประมาณ ๑๕๐๐๐ บาท มาเปลี่ยนฝาเป็นไม้กระดาน ติดตั้งประตู หน้าต่าง และหลังคามุงกระเบื้อง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•พฤหัสบดี•ที่ 04 •ตุลาคม• 2012 เวลา 21:23 น.• )