สารรักษ์หัวใจตอนที่ ๖ โรคหัวใจ กับ โรคปอดเกี่ยวกันอย่างไร ท่านเคยสงสัยไหมว่า “เป็นโรคหัวใจแต่แพทย์กลับพูดว่าขณะนี้มีน้ำท่วมปอด” บางท่าน “เป็นโรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดแต่แพทย์กลับพูดว่ามีหัวใจโตด้วย” เพราะมีเหตุผลคือ หัวใจกลับปอดเหมือน ลิ้นกับฟัน นั่นเองที่ต้องทำงานประสานกัน โดยในภาวะปกติ เมื่อหัวใจรับเลือดดำจากส่วนต่างๆของร่างกายมาแล้ว จะออกแรงบีบเลือดดำไปสู่ปอด ปอดทำหน้าที่ฟอกเลือดดำ โดยเติมออกซิเจนให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง แล้วเลือดแดงก็ไหลเข้าสู่หัวใจ หัวใจต้องออกแรงบีบเลือดแดงไปให้อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย เป็นโรคหัวใจแต่แพทย์กลับพูดว่าขณะนี้มีน้ำท่วมปอด

เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาต่อหัวใจ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ, กล้ามเนื้อหัวใจบีบอ่อนจากการดื่มสุรามากๆ, ลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วมากจนเลือดออกจากหัวใจไม่ได้ดี ปัญหาเหล่านี้จะทำให้น้ำเลือดคั่งค้างที่หัวใจ และล้นกลับไปที่ปอด ไปอยู่ในถุงลมของปอด ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ ผู้ป่วยจะเหนื่อยมาก นอนราบไม่ได้เพราะน้ำเลือดจะตกและแช่อยู่ที่ปอด เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง [Heart failure] แต่คำว่าหัวใจล้มเหลว อาจดูเป็นคำที่ผู้ป่วยและญาติอาจจะตกใจกลัวมากหรือเข้าใจยาก แพทย์ส่วนใหญ่จึงมักใช้คำว่า “น้ำท่วมปอด” แทนนั่นเอง เป็นโรคถุงลมโป่งพองหรือโรคปอดแต่แพทย์กลับพูดว่ามีหัวใจโตด้วย ในทางกลับกันกับหัวข้อข้างต้น ถ้ามีปัญหาที่โรคปอดเรื้อรัง เช่นโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง, โรคเส้นเลือดฝอยปอดอุดตันเรื้อรัง, หรือโรคเยื่อถุงลมปอดหนาตัว โรคเหล่านี้ทำให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ดี ค่าออกซิเจนในเลือดจะต่ำ ทำให้หัวใจที่เปรียบเครื่องปั๊มเลือดแดงที่มีออกซิเจน ต้องออกแรงปั๊มบ่อยขึ้น และแรงขึ้น ถ้าการออกแรงของหัวใจเป็นนานๆหลายๆปี จะทำให้เกิดหัวใจโตได้

บทความโดย น.พ.มงคล  มะระประเสริฐศักดิ์ อายุรแพทย์โรคหัวใจโรงพยาบาลแพร่

จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วย โดยตั้งกองผ้าป่า ๒ ครั้ง

•แก้ไขล่าสุด• ( •วัน•อาทิตย์•ที่ 19 •สิงหาคม• 2012 เวลา 23:37 น.• )